ทำไม่ต้องเรียน

หลักการและเหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่สิบเอ็ด  .. 2555 - 2559   เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศระยะกลาง   เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ระยะยาว กำหนดไว้ว่า    “ คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย  มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง    ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย    และหลักธรรมอภิบาล  การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง  มีคุณภาพ  สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง  อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง  และแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   คือ  การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  มุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน  มีนิสัยใฝ่รู้ รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก  และส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย  ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร  กลุ่มบุคคล   ชุมชน  ประชาชน  และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์  สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย  รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน    สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้    ที่มีคุณภาพและสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ควรมีการสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน   ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน   ที่มีศักยภาพใน การพัฒนาบุคลากรในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ  เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนให้มีมาตรฐาน  เป็นที่ยอมรับในระดับสากล   ยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน    กำหนดมาตรฐาน    ขั้นพื้นฐานของคุณภาพสินค้าและบริการ      ที่เป็นการป้องกันสินค้าและบริการนำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ    ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ในแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.. 2555 – 2559  ได้มีการพิจารณาถึงคุณภาพ  การจัดการศึกษา  กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงาน   โดยกล่าวถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา  พัฒนาความเป็นสากลของการศึกษา   เพื่อรองรับ การเป็นประชาคมอาเซียน      และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแสโลกอภิวัตน์   ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข  มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน   พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย   โดยมุ่งเน้น  ให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  และมีทักษะวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
หลักสูตรการศึกษาระดับขั้นการศึกษาพื้นฐาน มีการกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้  เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการฟัง  พูด อ่าน เขียน  เข้าใจความแตกต่างของภาษา การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี  และสามารถสื่อสารกับชาวชาติได้  รวมทั้งช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ง่ายและกว้างขึ้น  อย่างไรก็ตาม  แม้หลักสูตรจะกำหนดบังคับให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   แต่ก็ยังมีคนไทยจำนวนมากที่พูดภาษาอังกฤษ หรือไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษไม่ได้  ทั้ง ๆ ที่รวมเวลาในการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว   ส่วนใหญ่  ไม่ต่ำกว่า 10 ปี  หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือแม้กระทั่งปริญญาโทยังมีจำนวนไม่น้อย ที่ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้
นอกจากนี้จากแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่สิบเอ็ด พ.. 2555 - 2559 ได้กล่าวถึงปัญหาที่ผ่านมาว่า  คุณภาพการศึกษายังไม่เป็นที่พอใจของสังคม เด็กวัยเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ในวิชาหลักของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-Net)   ได้แก่  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์  มีผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าเฉลี่ยตํ่า   ผลการสอบ ในทุกระดับชั้นของวิชาภาษาอังกฤษ  และคณิตศาสตร์  มีคะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน  ตามตารางข้างล่างนี้
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้นำอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงได้ทวีความสำคัญและมีความจำเป็น มากขึ้น   จากกฎบัตรอาเซียนข้อ 34   บัญญัติว่า “The working language of ASEAN  shall be English”   “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ ”   จากการศึกษาพบว่าความเชี่ยวชาญในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเยาวชนไทย   มีแนวโน้มว่ามีคุณภาพต่ำกว่าประเทศ เพื่อนบ้านและประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน    ดังนั้นสถานศึกษาจึงควรมีการวางแผนและเตรียมพร้อมด้านภาษาอังกฤษให้เยาวชนไทยให้มีคุณภาพตามที่คาดหวัง   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมอาเซียนและเวทีโลกต่อไป

จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้เกิดวิธีการที่ง่าย   ความหลากหลาย  และเหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล  สามารถศึกษาได้ตลอดเวลาโดยผ่านสื่อผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  และมีแบบแผนการติดตาม  ตลอดจนประเมินผลสัมฤทธิ์ทั้งจากตัวผู้เรียนและครูผู้สอนโดยตรง  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับลิขสิทธิ์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดส์ ประเทศอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับจากสถานศึกษาชั้นนำของประเทศไทย  เช่น โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ     โรงเรียนราชวินิตบางเขน  โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี 4) โรงเรียนมัธยมวัดมกุฎกษัตริย์  ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น